Empathy ทักษะการเข้าใจคนอื่นที่เราทุกคนควรมี

การฟังเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญของการสื่อสาร แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเข้าใจด้วยว่า ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกอย่างไร? หัดเอาใจเขามาใส่ใจเรา เข้าอกเข้าใจผู้อื่นมากขึ้นด้วย “Empathy” ทักษะสำคัญที่ทุกคนควรมี

Empathy ถูกพูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะในแง่ของการใช้ชีวิตหรือการทำงาน สามารถพูดได้ว่า Empathy กลายเป็นหนึ่งในทักษะที่เราควรมีในโลกปัจจุบัน  ตกลงแล้ว Empathy คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร?

Empathy คืออะไร? 

Empathy คือทักษะในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น รับรู้ว่าผู้อื่นนั้นมีความรู้สึกอย่างไรผ่านการมองในมุมมองของผู้อื่น โดยจินตนาการว่าตัวเราไปอยู่ในจุดเดียวกับเขา เป็นการทำความเข้าใจว่าถ้าเราตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน เราจะรู้สึกอย่างไร

Empathy มีไว้เพื่อทำความเข้าใจว่าผู้อื่นนั้นมีความคิดและความรู้สึกอย่างไร ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ การมี Empathy จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้นและเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ผู้คนหันมารับฟังและเข้าใจกันมากขึ้น ซึ่ง Empathy แบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  1. Affective Empathy คือ ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น รับรู้ว่าเขามีความรู้สึกและอารมณ์อย่างไร  เพื่อให้เราสามารถเข้าใจผู้อื่นมากขึ้นและวางตัวได้อย่างเหมาะสมในการพูดคุย
  1. Compassionate Empathy  คือ ความสามารถในการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น นอกจากจะเข้าใจว่าผู้อื่นนั้นมีความรู้สึกอย่างไร แต่ต้องรู้ด้วยว่าเพราะอะไรถึงทำให้เขารู้สึกเช่นนั้น และพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือเขา
  1. Cognitive empathy คือ ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกและความคิดของผู้อื่น รวมไปถึงสภาวะจิตใจในปัจจุบันของเขาว่าเป็นอย่างไร รับรู้ว่าเขารู้สึกและมีความคิดอย่างไรต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ข้อดีของ Empathy

Empathy นั้นมีข้อดีที่หลากหลายและสามารถนำปรับใช้ได้ทั้งในด้านชีวิตและการทำงาน Empathy สามารถทำให้ผู้คนสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันได้ โดยการเข้าใจความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของผู้อื่น ทำให้เราสามารถเข้าใจและรับฟังผู้อื่นได้มากขึ้น การที่เราหันมาเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้นจะทำให้ปัญหาต่างๆ ในสังคมนั้นลดลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งตัวเราและผู้อื่น รวมถึงสังคมด้วย 

การเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ทำให้เรารู้จักการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง เพราะเมื่อเรารับรู้ว่าผู้อื่นนั้นมีความรู้สึกและอารมณ์อย่างไร เราก็จะพยายามควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้สอดคล้องไปกับสถานการณ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทักษะที่มีประโยชน์อย่างมากต่อตัวเรา เพราะเมื่อเราสามารถเข้าอกเข้าใจผู้อื่นและพร้อมที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเขา สิ่งเหล่านี้ก็จะย้อนกลับมาหาเราในที่สุด เพราะฉะนั้นการมี Empathy ติดตัวไว้จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายและยังสามารถทำประโยชน์ให้กับเราได้ด้วย 

สร้าง Empathy ได้อย่างไร

จริงๆ แล้ว Empathy เป็นทักษะที่เราสามารถสร้างและฝึกฝนได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราสามารถฝึกฝนและเสริมสร้าง Empathy ได้ง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้ 

  • การพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นคนรู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม ในระหว่างการพูดคุยให้เราคอยสังเกตและพยายามทำความเข้าใจว่าฝ่ายตรงข้ามมีความรู้สึกอย่างไร พยายามฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพราะวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเสริมสร้าง Empathy ให้กับเราโดยตรง
  • การสังเกตภาษากายของผู้อื่น รวมไปถึงน้ำเสียง จะทำให้เราสามารถเข้าใจถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่นได้ แม้ว่าจะไม่ได้สื่อสารกันก็ตาม ศึกษาว่าภาษากายแบบไหนแสดงความรู้สึกอะไรออกมา การเข้าใจถึงความหมายของภาษากายก็ช่วยให้เราเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้อื่นได้
  • รับฟังอย่างตั้งใจ พยายามรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจตลอดการสนทนา ไม่ให้สิ่งใดมาเบี่ยงเบียนความสนใจของเรา แม้ว่าจะเป็นความคิดของเราเองก็ตาม หรือพยายามควบคุมอารมณ์ของตนเองให้สอดคล้องไปกับการสนทนา สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้และเข้าใจถึงอารมณ์ของผู้อื่นเช่นกัน
  • จินตนาการว่าเราอยู่ในสถานการณ์เดียวกับผู้อื่น ให้เราลองคิดว่าถ้าเราตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันเราจะมีความคิดและรู้สึกอย่างไร ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา การทำแบบนี้จะทำให้เราได้เห็นภาพและมุมมองใหม่ๆ ที่ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้อื่นอย่างชัดเจนมากขึ้น

เราสามารถนำ Empathy ไปปรับใช้ได้ในหลากหลายด้าน แต่หนึ่งในด้านที่สำคัญคือ การทำงาน เราสามารถนำความเข้าอกเข้าใจไปปรับใช้ในที่ทำงาน เพื่อทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่นมากยิ่งขึ้น เรียนรู้ทักษะการเข้าอกเข้าใจกันในการทำงานไปกับ คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO แห่ง Sea ประเทศไทย ในคอร์ส Scale People, Scale Company “สร้างบริษัทให้โตด้วยพลังคนรุ่นใหม่” 

อ้างอิง https://bit.ly/3t8fky4 https://bit.ly/3vjft4u https://nyti.ms/3LYfUqU

สูตรความสำเร็จกับ "ที่สุด" ของประเทศ

คอร์สออนไลน์กับผู้บริหาร ผู้นำทางความคิด แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

Verified by MonsterInsights