Gap Analysis คืออะไร ? ทำอย่างไรให้เห็นผล

เพียงรู้เป้าหมาย เข้าใจตัวเองให้ลึกซึ้ง ก็มีชัยไปกว่าครึ่งในโลกธุรกิจ ชวนมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กร

Gap Analysis คืออะไร?

Gap Analysis หรือ การวิเคราะห์ช่องว่าง คือ วิธีการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจ  และระบุช่องว่างหรือข้อบกพร่องที่มี พิจารณาว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือวัตถุประสงค์ของธุรกิจหรือไม่ เพื่อให้สามารถกำหนดกลยุทธ์เพื่อเอาชนะปัญหาใดที่เกิดขึ้น หรือสรุปง่ายๆ ว่าเป็นการวิเคราะห์เพื่อดูว่าธุรกิจหรือบริษัทของตัวเองจะเข้าใกล้เป้าหมายที่วางไว้ได้มากน้อยเพียงใด หรือมีปัญหาใดที่ต้องแก้ไข

4 ขั้นตอนของการวิเคราะห์ Gap Analysis 

  1. ระบุสถานการณ์ปัจจุบัน 

กำหนดสิ่งที่สำคัญของแต่ละแผนกหรือองค์กร และระบุว่าอะไรที่ควรโฟกัสที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ทีมขายอาจมุ่งเน้นที่การสร้างลูกค้าเป้าหมาย ในขณะที่แผนกบัญชีอาจเน้นที่ประสิทธิภาพและความถูกต้องเชิงตัวเลข

  1. กำหนดเป้าหมาย SMART 

เป้าหมาย SMART Goal ต้องมีความเฉพาะเจาะจง วัดผลได้ มีความชัดเจนเพื่อบรรลุผลลัพธ์ได้ รวมถึงมีความเกี่ยวข้องและคำนึงถึงเวลา สิ่งสำคัญอยู่ที่การวัดผลเพื่อให้เราเห็นการเติบโตไปสู่เป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จ

  1. วิเคราะห์ช่องว่างจากที่ปัจจุบันไปยังเป้าหมายที่ต้องการ 

ถึงเวลาประเมินช่องว่างและระบุปัญหาให้ชัด สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการดูรายละเอียดทั้งหมดว่า เกิดปัญหาอะไรขึ้น และทำไมจึงไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่องค์กรต้องการ ซึ่งสาเหตุอาจมีหลายรูปแบบทั้งปัญหาการจ้างงาน ปัญหาการฝึกอบรม ปัญหาทรัพยากร หรืออื่นๆ นี่คือที่ที่คุณขุดค้นเพื่อค้นพบ โดยสามารถวิเคราะห์จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกโดยการใช้ SWOT Analysis

  1. จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อปิดช่องว่างที่มีอยู่

ขั้นตอนสุดท้ายสำคัญอย่างยิ่งว่าเราต้องทำอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ นั่นก็คือการพัฒนากลยุทธ์และแผนงานที่จะช่วยเชื่อมช่องว่างขององค์กรจากที่ปัจจุบันไปยังเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง 

เปลี่ยนวิสัยทัศน์เป็นแผนการ กับบทเรียนผู้นำแห่ง Transformation 

เข้าใจ Transformation เพื่อการวางแผนได้เฉียบคม เปลี่ยนแปลงสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจและก้าวสู่องค์กรที่ประสบความสำเร็จในระยะยาว ในคอร์ส “The Principles of Transformational Leadership สร้างผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลง” กับ ‘คุณกระทิง’ เรืองโรจน์ พูนผล Group Chairman แห่ง Kasikorn Business Technology Group (KBTG) และผู้ก่อตั้งกองทุน 500 TukTuks

อ้างอิง https://bit.ly/3IskbzY

สูตรความสำเร็จกับ "ที่สุด" ของประเทศ

คอร์สออนไลน์กับผู้บริหาร ผู้นำทางความคิด แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

Verified by MonsterInsights