11 ประเภทร้านอาหารที่คนอยากเปิดร้านต้องรู้จัก

หากความฝันของคุณคือการเป็นเจ้าของร้านอาหารสักร้าน การทำความเข้าใจว่าร้านอาหารมีกี่ประเภทก็ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ

ปัจจัยการแบ่งประเภทร้าน

  • รูปแบบเมนู
  • วิธีการเตรียม
  • ราคา
  • ตัวเลือกที่นั่ง
  • วิธีการเสิร์ฟอาหารให้กับลูกค้า

11 ประเภทร้านอาหารที่พบบ่อยที่สุดในปัจจุบัน

1. ร้านอาหารแบบสบายๆ (Casual Dining)

ร้านอาหารแบบสบายๆ เสิร์ฟอาหารอาลาคอาร์ตในราคาปานกลาง ร้านอาหารที่รับประทานอาหารแบบสบายๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารในเครือหรือเป็นเจ้าของโดยอิสระ จะสามารถแบ่งย่อยไปอีกตามสัญชาติ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น

2. ร้าน Fine Dining

ร้านอาหาร Fine Dining จะมีบริการที่เอาใจใส่ในบรรยากาศห้องรับประทานอาหารที่เป็นทางการมากกว่าร้านอาหารแบบสบายๆ อาหาร Fine Dining มักจะใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงกว่า ทำให้มีราคาแพงกว่าร้านอาหารแบบสบายๆ และมักประกอบด้วยอาหารหลายคอร์ส เช่น เริ่มด้วยไวน์หรือค็อกเทล อาหารเรียกน้ำย่อย สลัด จานหลัก เครื่องเคียง ไปจนถึงของหวาน 

3. ร้านอาหารแบบครอบครัว (Family-style Restaurant)

ร้านอาหารแบบครอบครัวเสิร์ฟอาหารไซส์ใหญ่เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มใหญ่แบ่งกันทาน ร้านอาหารประเภทนี้มักจะให้บริการในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย อาหารบางประเภทที่เหมาะสำหรับการรับประทานอาหารแบบครอบครัว เช่น อาหารอิตาเลียน-อเมริกัน อาหารจีน และอาหารอเมริกันแบบดั้งเดิม เนื่องจากอาหารเหล่านี้มักประกอบด้วยอาหารจานใหญ่ที่แบ่งกันทานได้ 

4. ร้าน Fast-casual

ร้านแบบนี้มักจะให้บริการที่เคาน์เตอร์แทนบริการที่โต๊ะ และส่วนใหญ่จะเสิร์ฟแซนด์วิช เบอร์เกอร์ เบอร์ริโต และสลัด ประสบการณ์การรับประทานอาหารประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีความสมดุลระหว่างคุณภาพของอาหารที่ดีกว่าฟาสต์ฟู้ดทั่วไปแต่ยังคงความเร็วของอาหารจานด่วน

5. ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด 

ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดจะเสิร์ฟอาหารราคาประหยัดอย่างรวดเร็วจากเคาน์เตอร์หรือแบบไดร์ฟทรู ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดมีเมนูอาหารที่ผลิตในปริมาณมากซึ่งมักจะปรุงล่วงหน้าเพื่อให้บริการที่รวดเร็ว 

6. รถขายอาหาร (Food Truck)

Food Truck จะเสิร์ฟอาหารราคาปานกลางซึ่งสั่งทำจากห้องครัวเต็มรูปแบบภายในรถ และมักจะให้บริการที่เคาน์เตอร์และไม่มีที่นั่ง รถขายอาหารมักจะขายแค่อาหารประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ทาโก้ บาร์บีคิว ฮอทดอก ชีสย่าง หรือไอศกรีม และจะขับรถไปยังสถานที่ใหม่ๆ ที่สะดวกสำหรับลูกค้า เช่น สำนักงาน ตลาดนัด หรืองานส่วนตัว รถขายอาหารเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทดสอบว่าร้านอาหารแนวที่อยากทำจะไปรอดไหม เนื่องจากใช้พนักงานน้อยและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าร้านที่ต้องมีหน้าร้าน

7. ร้านอาหารแบบป็อปอัพ

ร้านอาหารแบบป็อปอัพเป็นร้านที่เปิดแค่ชั่วคราวบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยมักจะมีแค่เคาน์เตอร์ให้สั่งอาหารหรือมีที่นั่งน้อย ข้อดีของร้านอาหารแบบป็อปอัพคือช่วยให้เชฟและเจ้าของธุรกิจได้ทดสอบร้านโดยไม่ต้องทำสัญญากับอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากและเช่าพื้นที่จริง

8. บาร์และผับ

บาร์หรือผับเป็นร้านเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก และมักมีเมนูอาหารให้เลือกไม่มาก ร้านอาหารบางที่ก็มีพื้นที่บาร์ แต่บาร์สามารถเป็นร้านแบบสแตนด์อโลนได้เช่นกัน

9. คาเฟ่

คาเฟ่มีเคาน์เตอร์บริการกาแฟหลากหลายประเภท เช่น เอสเปรสโซ คาปูชิโน่ และลาเต้ บางครั้งก็เสิร์ฟอาหารแบบสบายๆ เช่น แซนวิช สลัด และขนมอบด้วย

10. บุฟเฟ่ต์ 

ในร้านอาหารสไตล์บุฟเฟ่ต์ ลูกค้าจะบริการตัวเองโดยเลือกรายการอาหารต่างๆ บนบาร์หรือเรียกพนักงานมาเสิร์ฟได้ไม่จำกัดภายในระยะเวลาที่กำหนด 

11. Chef’s Table

ร้านเชฟส์เทเบิ้ล คือร้านอาหารที่เสิร์ฟเมนูตามใจเชฟ ส่วนใหญ่มักจะนั่งรับประทานกันที่โต๊ะยาวหน้าครัวเปิด โดยผู้ที่กำหนดงบต่อหัวและสไตล์อาหารจะเป็นทางเชฟเองหรือทางแขกที่นัดล่วงหน้าก็ได้ แล้วเชฟก็จะรังสรรเมนูตามที่ตกลงกันไว้

หัดทำเมนูง่ายๆ แต่ได้รสชาติเหมือนร้าน Chef’s Table ไปพร้อมกับเชฟบิ๊ก อรรถสิทธิ์ พัฒนเสถียรกุล เจ้าของร้านอาหาร Chef’s Table และเจ้าของเพจ “อยากทำแต่ไม่อยากกิน” ได้ในคอร์ส “The Taste of Home Cooking – เริ่มต้นความอร่อยจากครัวที่บ้าน

อ้างอิง https://bit.ly/3ebjJZY https://bit.ly/3Ef7lmA https://bit.ly/3peW29y

สูตรความสำเร็จกับ "ที่สุด" ของประเทศ

คอร์สออนไลน์กับผู้บริหาร ผู้นำทางความคิด แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

Verified by MonsterInsights