การถนอมอาหารขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดเคล็ดลับศาสตร์การปรุงอาหารของมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณที่คิดค้นและถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี โดยมีวัตถุประสงค์คือการเก็บรักษาวัตถุดิบให้มีอายุนานที่สุดเพราะยุคสมัยก่อนนั้นไม่มีตู้เย็นทำให้อาการเน่าเสียได้ง่าย
ความแตกต่างของแต่ละประเทศและวัฒนธรรมจึงทำให้เกิดการคิดค้นสูตรการถนอมอาหารแตกต่างกันออกไปตามวัตถุดิบขึ้นชื่อหรือหาได้ง่ายตามท้องถิ่นของตัวเองเป็นหลัก
วันนี้เรามาแนะนำ 8 สูตรอาหารและวิธีถนอมอาหารของชาติต่าง ๆ ที่อยากให้ทุกคนรู้จักเผื่อว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้นำไปทำตาม
กิมจิ (Kimchi) – ประเทศเกาหลี
เมนูแรกที่ทุกคนต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี กิมจิเป็นการถนอมผักของชาวเกาหลีโดยใช้วิธีหมักพริกแดงกับผักต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องเคียงประจำอาหารจานหลัก โดยผักที่นิยมหมักได้แก่ ผักกาดขาว แตงกวา หัวไช้เท้าและต้นหอม เป็นต้น
พาสทีร์มา (Pastrima) – ประเทศตุรกี
เนื้อวัวและเนื้อแกะตากแห้งผสมกระเทียม อาหารประจำชาติอันขึ้นชื่อของประเทศตุรกี พาสทีร์มาเป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดจากการที่นักรบจะนำของแห้งทำเค็มนี้ใส่ไว้ใต้อานม้าพกพาออกไปเดินทาง
นัตโตะ (Natto) หรือถั่วเน่าญี่ปุ่น – ประเทศญี่ปุ่น
แม้ชื่อจะฟังไม่น่ารับประทานและมีกลิ่นแรง แต่ถั่วเน่าญี่ปุ่นหรือ “นัตโตะ” ก็ได้รับความนิยมไม่น้อย โดยนัตโตะทำจากถั่วเหลืองหมักกับเชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์สำหรับทำนัตโตะเท่านั้น เป็นวิธีถนอมอาหารที่ใช้วัตถุดิบเป็นเมล็ดพืชที่มีประโยชน์มากเพราะอุดมไปด้วยโปรตีน
ไข่เยี่ยวม้า (Century Egg) – ประเทศจีน
มีการกล่าวอ้างว่าไข่เยี่ยวม้าถือกำเนิดขึ้นมาสมัยโบราณกาลประมาณ 600 ปีก่อน และหลังจากนั้นเกิดความนิยมของชาวบ้านที่นำไข่เป็ด ไข่ไก่ และไข่นกกระทา มาผสมกับปูนขาว เกลือ โซเดียม ขี้เถ้า ฯลฯ หมักทิ้งไว้เพื่อให้ได้รสชาติที่เข้ากัน โดยไข่แดงจะมีความคงตัวของครีมและรสชาติที่เข้มข้นเนื่องจากมีไฮโดรเจนซัลไฟด์และแอมโมเนียอยู่ ถือเป็นการถนอมอาหารที่เก่าแก่และได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะกับเมนูต่าง ๆ ในประเทศไทย
กะปิ (Shrimp Paste) – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กะปิเป็นการถนอมอาหารที่ขึ้นชื่อและนิยมอย่างมากของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยวิธีคือการเอาเคยหรือกุ้งมาหมักกับเกลือรวมถึงใส่ส่วนผสมปรุงรสต่าง ๆ หมักทิ้งไว้ราว 3-5 เดือน ถือเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารที่มีต้นกำเนิดจากความเป็นอยู่ของคนยุคก่อนที่จับกุ้งจับปลามาหมักเกลือแล้วใส่ไหเพื่อเก็บไว้กินในช่วงหน้าแล้ง โดยกะปิเป็นหนึ่งในเครื่องชูรสของหลายประเทศในอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และไทย
บอร์ต (Bort) – ประเทศมองโกเลีย
บอร์ตหรือเนื้อตากแห้งของชาวมองโกเลีย เป็นการถนอมอาหารด้วยการทำเนื้อให้แห้งนำไปตากไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อเนื้อจะหดเล็กลงทำให้เก็บง่ายและคงคุณภาพไว้ได้นาน คนมองโกเลียสามารถพกพาระหว่างเดินทางไกลได้ โดยวิธีการกินคือการนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ หรือนำผงบอร์ตเทใส่ลงในน้ำเดือดให้กลายเป็นน้ำแกง
แตงดอง (Ogorek Kiszony) – ประเทศโปแลนด์
เรามักจะเห็นแตงกวาดองเป็นเครื่องเคียงในเมนูต่าง ๆ ของอาหารจานหลักของประเทศโปแลนด์ มีรสชาติและกลิ่นค่อนข้างแรง โดยใช้วิธีดองในน้ำเกลือหรือน้ำส้มสายชูเพื่อให้มีรสชาติเฉพาะตัว
ปลาร้า (Pickled Fish) – ไทย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปลาร้าคือสุดยอดการถนอมอาหารที่นิยมของชาวอีสานที่มีทุกบ้าน มีจุดเริ่มต้นในมอญและเขมร ก่อนจะเข้ามาในไทยช่วงสมัยอยุธยา เป็นหนึ่งภูมิปัญญาการถนอมอาหารที่โดดเด่นของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ปัจจุบันก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างมาก นอกจากปลาร้าจะทำให้อาหารครบรสและถึงเครื่องแล้วยังมีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมที่แฝงไว้เบื้องหลังด้วย
อ้างอิง https://bit.ly/3oIjHhz https://bit.ly/3JgQ3JU
Personal Branding คืออะไร? สื่อสารอย่างไร? ในวันที่ตัวตนสำคัญกว่าตัวแบรนด์

FacebookFacebookXXLINELine‘แบรนด์’ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจ แต่หากเราพูดถึงการสร้างแบรนด์ในปัจจุบัน Personal Branding จะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆแต่เมื่อพูดถึง Personal Branding…