แก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ ผ่านการคิดแบบ Design Thinking

ปกติเราแก้ปัญหากันอย่างไร? เริ่มต้นจากการระดมสมองหาไอเดีย แต่สุดท้ายก็ค่อยๆ คัดออกจนเหลือเพียงทางเลือกเดิมๆ ที่ดูจะเป็นไปได้ที่สุดแล้วหรือเปล่า?

จะเป็นอย่างไรเมื่อเราสามารถขยายทางเลือกที่มีอยู่ ออกนอกกรอบเดิม และค้นหาไอเดียที่จะสร้างอิมแพคได้มากกว่านี้ล่ะ?

Tim Brown นักออกแบบที่เคยขึ้นเวที Ted Talk ได้เสนอทางเลือกที่เรียบง่ายที่สุด แต่สามารถแก้ปัญหาและสร้างผลลัพธ์ที่ทรงพลังได้ด้วยการใช้ ‘Design Thinking’

Design Thinking คืออะไร?

Design Thinking คือวิธีการแก้ปัญหาด้วยสายตาของ ‘นักออกแบบ’ ซึ่งแทนที่จะโฟกัสไปที่ปัญหานั้นๆ เรากลับมองมันในเชิงการออกแบบผ่านหลากหลายรูปแบบและมุมมอง เพื่อหาทางสร้างหรือออกแบบผลลัพธ์ในรูปแบบใหม่ด้วยวิธีที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือพูดง่ายๆ ว่า Design Thinking ก็คือการแก้ปัญหาอย่างไรให้สร้างสรรค์นั่นเอง

ใช้ Design Thinking อย่างไร?

Design Thinking เริ่มต้นจากการวางคนเป็นจุดศูนย์กลาง (Human-centered core) แล้วขยายปัญหาเหล่านั้นจากคน ซึ่งในเชิงธุรกิจ การจะสร้างทางเลือกใหม่จากกระบวนการ Design Thinking ที่ทำได้จริงจะต้องคำนึงถึงอาศัย 3 ปัจจัย ได้แก่ ความต้องการของมนุษย์ ความเป็นไปได้ในเชิงปฎิบัติหรือเทคโนโลยี และสิ่งที่ตอบสนองได้ในเชิงธุรกิจ 

ด้วยการเพิ่มมุมมองและทางเลือกใหม่ จนสามารถสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างจากเดิม

 5 ขั้นตอนหลัก ในการแก้ปัญหาด้วย Design Thinking  

Source: https://dschool.stanford.edu
  1. เริ่มต้นจาก ‘การทำความเข้าใจคน’ (Empathize)

Design Thinking เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ ‘คน’ หรือกลุ่มเป้าหมาย แทนที่จะเป็น      การเริ่มต้นจาก ‘เทคโนโลยี’ โดยเริ่มจากคำถามที่ว่า อะไรทำให้ชีวิตคนง่ายขึ้น? เราสร้างสิ่งนี้ไปเพื่อใคร? สิ่งนี้จะทำให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้นได้อย่างไร? ฯลฯ ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต และการมีส่วนร่วมกับผู้คน

  1. ระบุ ‘คำถามที่ใช่’ (Define)

สิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ Design Thinking คือการตั้ง ‘โจทย์’ หรือ ‘คำถามที่ใช่’ เพื่อนำไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง โดยคำถามที่ใช่นั้นสามารถระบุได้จาก ‘ปัญหา’ และ ‘ความต้องการ’ หลักของคน ซึ่งรูปแบบของโจทย์ก็เป็นเพียงคำถามเดียวที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เช่น “จะสร้างทางรถไฟจากลอนดอนถึงนิวยอร์กอย่างไร?” 

นอกจากนี้ การเริ่มระบุกลุ่มเป้าหมายและจุดประสงค์ก็จะช่วยกำหนดแนวทางในขั้นตอนต่อไปได้มากขึ้น 

  1. ระดมไอเดีย (Brainstorming)

วิธีการระดมไอเดียแบบ Design Thinking จะเลือกขยายทางเลือกให้กว้างออกไป (Expansive) มากกว่าการมองเจาะลึกในมุมแคบ (Vertical) เพื่อขยายแนวทางการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่มีอยู่ให้กว้างที่สุด และสำรวจขอบเขตความเป็นไปได้ให้มากกว่าเดิม ในขั้นตอนนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยการร่วมระดมความคิด (Brainstorming) การคิดออกนอกกรอบ โดยยังไม่กำหนดว่าสิ่งไหนผิดหรือถูก และมักจะมองหาวิธีที่เป็นทางเลือกรองๆ (Alternative ways) ที่อยู่นอกเหนือจากวิธีหลักๆ ที่ใช้กันบ่อยแล้วให้มากขึ้น

  1. เรียนรู้จากการลงมือทำ (Prototype)

จากปัจจัยตั้งต้น เมื่อจะทำให้เป็นจริงได้ก็ต้องออกแบบให้เป็นไปได้ในทางปฎิบัติด้วย ขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการเริ่มลงมือทำ เพื่อคิด ทดลองทำ และเรียนรู้จากมัน โดยเน้นสร้าง ‘ตัวต้นแบบ’ ให้เรียบง่ายที่สุด และหากล้มเหลวเมื่อไหร่ ก็เริ่มทำซ้ำขึ้นมาใหม่ให้เร็วที่สุด

Tim Brown ได้กล่าวไว้ว่า หากเราลงมือทำแล้วเราจะยิ่งเข้าใจ ยิ่งสามารถเรียนรู้และค้นหาต่อไปได้ เขายกตัวอย่างว่าการสร้างสรรค์เลนส์แว่นตาแบบใหม่ที่ราคาถูกลงในอินเดีย ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วได้ผล ก็สามารถเกิดขึ้นจากห้องใต้ดินของโรงพยาบาล ที่ ณ เวลานั้นยังไม่ได้มีเทคโนโลยีชั้นดีที่สุดแต่อย่างใด

  1. ทดลองการมีส่วนร่วม (Test)

เมื่อลงมือสร้างสำเร็จ ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการทดลองกับผู้คนว่ามีปฏิกริยาและมีส่วนร่วมกับสิ่งนั้นอย่างไร มีส่วนไหนที่ได้ผลดี หรือมีอุปสรรคตรงไหนบ้าง เพื่อให้เราค้นหามุมมองและทางเลือกใหม่ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งที่ทำไว้ให้ดียิ่งขึ้น จนสามารถกลายเป็น ‘สิ่งที่ดีที่สุด’ และกระจายต่อในวงกว้างได้

เรียนรู้ตัวอย่างการปรับใช้ Design Thinking เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ได้ ในคอร์ส Employee Survival Guide อยู่ให้เป็น เอาตัวให้รอด จากศูนย์ถึง CEO โดยคุณฐากร ปิยะพันธ์ อดีตประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ และ CEO เครือไทย โฮลดิ้งส์

อ้างอิง: https://bit.ly/3EJCIXn https://bit.ly/3lYHVDb

สูตรความสำเร็จกับ "ที่สุด" ของประเทศ

คอร์สออนไลน์กับผู้บริหาร ผู้นำทางความคิด แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

Verified by MonsterInsights