4 วิธีเลือกสังคมที่ดีให้ตัวเอง เพราะถ้ามีเพื่อนดีเราก็จะดีตาม

เคยสังเกตไหมว่าเวลาที่รอบตัวเรารายล้อมไปด้วยคนแบบไหน เราก็มักจะเป็นแบบนั้นตามไปด้วย? 

ถ้ารอบข้างเรามีแต่คนขยัน เราก็จะอยากขยันแบบนั้นบ้าง และถ้ารอบข้างเรามีแต่คนขี้เกียจ เราก็จะเผลอขี้เกียจตามเช่นกัน ฉะนั้นการเลือกสังคมที่ดีให้ตัวเองหรือการเลือกคบเพื่อนจึงส่งผลต่อชีวิตเรามากกว่าที่คิด

เพื่อนแบบไหนที่ควรคบ

เพื่อนที่เชื่อในความสามารถของเรา

เพื่อนที่เชื่อในความสามารถของเราจะผลักดันให้เราทำอะไรนอกเหนือคอมฟอร์ตโซนโดยที่คอยสนับสนุนเราอยู่ข้างๆ การมีเพื่อนแบบนี้จะเราเชื่อมั่นว่าตัวเองมีความสามารถมากพอ ถึงแม้สิ่งที่เรากำลังจะลงมือทำอาจไม่ใช่สิ่งที่เคยทำมาก่อนก็ตาม

เพื่อนที่ชอบเล่าประสบการณ์ของตัวเอง

เพื่อนประเภทนี้จะเป็นเพื่อนที่ขยันทำนู่นทำนี่เพื่อสร้างสีสันให้ชีวิตตัวเอง (แน่นอนว่าต้องเป็นในทางที่ดี) แล้วนำมาเล่าต่อให้ทุกคนฟัง ไม่ใช่เพราะอยากอวดแต่เพราะอยากแบ่งปันประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจให้เราลุกออกไปทำอะไรนอกเหนือจากกิจวัตรประจำวันบ้าง

เพื่อนที่เป็นนักฟังที่ดี

เพื่อนที่คอยอยู่ข้างๆ และรับฟังเราทุกครั้งที่เราต้องต้องการใครสักคนนั้นเป็นเพื่อนที่สำคัญมาก ในวันที่เราไม่แน่ใจว่าคำพูดหรือเรื่องที่เรากำลังจะเล่านั้นมีค่าพอให้คนสนใจแค่ไหน เพื่อนคนนี้จะตั้งใจฟังอย่างดีเพื่อและทำให้เรารู้สึกว่ามีคนที่เห็นว่าเราเป็นคนสำคัญสำหรับเขาเหมือนกัน

เพื่อนที่ถามให้เราคิด

ถ้าเป็นไปได้ใครๆ ก็อยากใช้ชีวิตแบบไม่ต้องคิดมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าการหมั่นทบทวนตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ชีวิตของเราก้าวหน้า และถ้าการถามตัวเองมันยาก การมีเพื่อนที่รู้ว่าควรถามคำถามแบบไหนถึงจะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีไม่แพ้กัน

เพื่อนแบบไหนที่ไม่ควรคบ

ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

คนแบบนี้จะมองหาแต่แง่ลบของการเปลี่ยนแปลงจนมองข้ามส่วนดี การมองในแง่ลบไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป แต่บางครั้งเราก็ต้องรู้จักชั่งน้ำหนักทั้งสองฝั่งด้วย ไม่ใช่พอคิดลบแล้วจะปล่อยโอกาสดีๆ ทิ้งไปทันทีเพียงเพราะกลัว

ไม่ขอโทษ

ขอโทษคือการยอมรับความผิดพลาดหรือความล้มเหลวของตัวเอง คนที่ไม่ชอบเอ่ยปากขอโทษเวลาที่ตัวเองผิดจึงไม่ต่างจากคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ 

ไม่เคารพเวลาคนอื่น

เพื่อนที่ชอบมาสายเป็นชั่วโมงโดยไม่บอกล่วงหน้า หรือเพื่อนที่ปล่อยให้เรารอเก้อโดยที่ไม่บอกว่าจะมาหรือไม่มากันแน่ ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก็อาจจะลองพูดคุยกันดูก่อน แต่ถ้าเกิดขึ้นหลายครั้ง…บางทีการเป็นฝ่ายเดินออกมาก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

คิดลบตลอดเวลา

คนที่คิดลบตลอดเวลาจะมองเห็นแต่ปัญหาแต่กลับไม่มีทางออกให้ หรือเวลาที่ตัวเองล้มเหลวก็จะไม่เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง แต่เลือกที่จะล้มเลิกไปเลยมากกว่า เพื่อนแบบนี้อาจจะไม่ใช่คนนิสัยไม่ดี แต่การยอมแพ้อะไรง่ายๆ ก็ไม่ใช่ลักษณะนิสัยของคนที่เราอยากพาตัวเองไปอยู่ใกล้ๆ แน่นอน

4 วิธีเลือกสังคมที่ดีให้ตัวเอง

สำรวจคนรอบตัว

หากต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตในระยะยาว เราก็ควรพาตัวเองไปอยู่ร่วมกับคนที่สนับสนุนให้เป้าหมายของเราเป็นจริง ลองถามตัวเองว่าคนรอบตัวตอนนี้สนับสนุนเราหรือขัดขวางเรามากกว่ากัน?

สมมติว่าเราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะลดการดื่มแอลกอฮอล์ คนรอบตัวเราตอนนี้จะว่าอย่างไร? จะชวนไปร้านเหล้าเหมือนเดิม หรือชวนไปหากิจกรรมอื่นๆ ทำ?

พาตัวเองออกจากความคิดลบ

ปกติเราและกลุ่มเพื่อนพูดคุยเรื่องแบบไหน? เราคุยกันแต่เรื่องดีๆ หรือนินทาคนอื่นลับหลัง? ถ้าเราอยู่ท่ามกลางคนที่แผ่ความคิดลบๆ เราก็จะมองเห็นแต่เรื่องลบๆ มากกว่าเรื่องดีๆ

ก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซน

การก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซนเพื่อหาสังคมใหม่ๆ ก็เป็นอีกวิธีที่ดีสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง แน่นอนว่าก้าวแรกอาจจะดูน่ากลัว แต่ถ้าผ่านไปได้เราก็จะเติบโตขึ้นมาอีกขั้น

กำหนดขอบเขต

บางครั้งเราก็ไม่สามารถแยกตัวเองออกมาจากคนที่สร้างอิทธิพลทางลบให้กับเราได้ 100% แต่อย่างน้อยเราก็ยังเลือกว่าจะใช้เวลากับคนที่ส่งผลกระทบกับเราในทางที่ดีมากกว่า และกำหนดเวลาที่ใช้ไปกับคนประเภทแรกให้น้อยลงได้ 

เข้าใจการรับมือกับความสัมพันธ์

เข้าใจและเรียนรู้วิธีการรับมือกับความสัมพันธ์ที่เป็นพิษต่อใจไปกับพี่เล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร CEO แห่ง MFEC ได้ในคอร์ส “WIN BY RULES, SUCCEED BY DESIGN – ไขความลับของฟ้า” ที่พี่เล้งจะมาสอนวิธีดูคนให้ออก เลือกคนให้เป็น ดึงดูดคนให้ได้ เพราะทุกความสำเร็จที่ไปได้ไกล ล้วนเริ่มต้นด้วยเครือข่ายและคนรอบกายที่ดี

อ้างอิง https://bit.ly/3pjpwDD https://bit.ly/3wHe06Z https://bit.ly/3F1QNiq

สูตรความสำเร็จกับ "ที่สุด" ของประเทศ

คอร์สออนไลน์กับผู้บริหาร ผู้นำทางความคิด แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

Verified by MonsterInsights