คิดว่าใครๆ ก็น่าจะเคยก้มหน้าเอาแต่เล่นโทรศัพท์ระหว่างที่อีกคนพูดจนโดนบ่นว่า “ไม่ฟังที่พูดเลย เอาแต่เล่นโทรศัพท์” พอได้ยินแบบนั้นเราก็คงแอบเถียงในใจว่า “ฟังอยู่!” เพราะเราก็สามารถทวนคำพูดได้ทุกคำ แต่ว่า “การฟัง” แบบนี้นับเป็นการฟังระดับไหนกันนะ?
ระดับการฟังคืออะไร
ระดับของการฟังคือ ระดับที่ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินสภาวะของการฟังหรือวัดคุณภาพในการฟัง เพื่อทำให้รู้ว่าการฟังของเราอยู่ในระดับไหน เมื่อเรารู้ถึงระดับการฟังของตนเองจะทำให้เราเข้าใจว่าควรจะพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนการฟังอย่างไรเพื่อที่จะทำให้รับฟังผู้อื่นได้ดีขึ้น
การฟังมีอยู่ 5 ระดับหลักๆ ในแต่ระดับก็จะมีลักษณะและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป
1.ฟังอย่างไม่สนใจ (Ignoring)
การฟังอย่างไม่สนใจ เป็นระดับการฟังที่ต่ำที่สุดสาเหตุที่เรียกว่าการฟังอย่างไม่สนใจเป็นเพราะหูนั้นมีการรับรู้และได้ยินถึงเนื้อหาการสนทนาแต่คนที่ฟังไม่ได้ให้ความสนใจหรือจดจ่ออยู่กับผู้พูด เช่น เวลาเราเล่นโทรศัพท์หรือคิดถึงเรื่องอื่นในใจระหว่างกำลังพูดคุยกัน ทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจเนื้อหาหรือไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อออกมา
2. ฟังแบบแกล้งฟัง (Pretend Listening)
การฟังแบบแกล้งฟัง คือ การฟังแบบขอไปที ฟังแล้วแสดงว่าตนมีส่วนร่วมในการฟังแบบพอเป็นพิธี เช่น การพูดว่า “หรอ ใช่หรอ จริงหรอ” การฟังแบบนี้เป็นการหลอกให้คู่สนทนาเข้าใจว่าเราตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาพูดอยู่ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะนอกจากเราจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูดแล้วยังเป็นการหลอกฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย
3. ฟังแบบเลือกฟัง (Selective Listening)
การฟังแบบเลือกฟัง คือ การฟังที่ให้ความสนใจและจดจ่ออยู่กับเนื้อหาแต่เลือกฟังเฉพาะหัวข้อหรือช่วงที่สนใจ หากนอกเหนือจากสิ่งที่เลือกฟังแล้ว ผู้ฟังในระดับนี้จะไม่สนใจฟังส่วนอื่นไปเลยก็ได้
4. ฟังแบบตั้งใจ (Attentive Listening)
การฟังในระดับนี้คือการฟังในระดับที่ดีที่สุด เพราะลักษณะของการฟังแบบนี้คือ ผู้ฟังให้ความสนใจและจดจ่ออยู่กับผู้พูด เป็นการฟังอย่างตั้งใจเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดสื่อออกมาและยังทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมกับการสนทนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทำให้สามารถจับประเด็นและเข้าใจในสิ่งที่ฟังได้มากขึ้น
5. ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathic Listening)
การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ คือ ระดับการฟังที่ดีที่สุดเช่นเดียวกับการฟังอย่างตั้งใจ เพราะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ คือ การฟังเพื่อเข้าใจและใส่ใจในเนื้อหาที่ได้ยิน รวมถึงใส่ใจในตัวผู้พูดอีกด้วย นอกจากจะฟังแล้วยังแสดงให้เห็นถึงความเข้าอกเข้าใจและพร้อมที่จะเข้าไปช่วยหรือมีส่วนร่วมในสิ่งที่ผู้พูดสื่อออกมา สามารถนำไปใช้ร่วมกับการฟังอย่างตั้งใจเพื่อทำให้เข้าใจและสามารถรับฟังผู้อื่นได้ดีขึ้น
การฟังเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญ การรับรู้และเข้าใจในระดับการฟังของตนเองจะทำให้เราสามารถเข้าใจและรับฟังผู้อื่นได้ดีขึ้น รวมถึงทำให้ประสบความสำเร็จทั้งในเชิงความสัมพันธ์และหน้าที่การงาน
นอกจากนี้แล้วการฟังยังเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดของการโค้ช การฟังสามารถช่วยให้เราเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของคนได้ สามารถเรียนรู้ทักษะการฟังและทักษะอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่คอร์ส The Essentials of Coaching – ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด ด้วยการโค้ช โดยโค้ช ณัฏฐ์ เพิ่มทรัพย์ Executive Coach จาก The Essential Coach สถาบันด้านการ Training และ Coaching
อ้างอิง https://bit.ly/3Kbjvkw https://bit.ly/3nq6aLz
Personal Branding คืออะไร? สื่อสารอย่างไร? ในวันที่ตัวตนสำคัญกว่าตัวแบรนด์

FacebookFacebookXXLINELine‘แบรนด์’ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจ แต่หากเราพูดถึงการสร้างแบรนด์ในปัจจุบัน Personal Branding จะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆแต่เมื่อพูดถึง Personal Branding…