นอนพอแล้วยังง่วง? อาจเพราะการนอนที่ไม่ได้คุณภาพ

เคยนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่ตื่นมาก็ยังรู้สึกง่วงๆ มึนๆ หรือเปล่า? 

ถ้าเคยเป็นกันล่ะก็ อาจจะแปลว่าคุณภาพการนอนของเรายังไม่ดีเท่าไหร่นัก

สัญญาณว่าคุณภาพการนอนหลับของเรายังต้องปรับปรุง

  • ใช้เวลาหลับมากกว่า 30 นาที หลังจากหัวถึงหมอน
  • สะดุ้งตื่นมากกว่าหนึ่งครั้งเป็นประจำ
  • รู้สึกเหนื่อยและมีปัญหาในการโฟกัสระหว่างวัน และจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเพื่อให้ตื่นตัว
  • สิวขึ้น ดวงตาบวม แดง หรือมีรอยคล้ำ
  • รู้สึกหิวและอยากทานฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารขยะบ่อยขึ้น
  • เครียดมากขึ้น อ่อนล้า และหงุดหงิดมากกว่าปกติ
  • ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ

การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นยังไง?

คุณภาพการนอนหลับแตกต่างจากจำนวนชั่วโมงการนอนหลับ จำนวนชั่วโมงการนอนหลับจะวัดว่านอนหลับได้มากแค่ไหนในแต่ละคืน ในขณะที่คุณภาพการนอนหลับจะวัดว่านอนหลับได้ดีแค่ไหน

การวัดปริมาณการนอนหลับนั้นง่ายมาก เนื่องจากสามารถระบุได้อย่างรวดเร็วว่าได้นอนหลับนานเท่าที่แนะนำต่อคืนหรือไม่ (ปกติคือ 7-9 ชั่วโมงสำหรับผู้ใหญ่) ส่วนคุณภาพการนอนหลับที่ดีโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้:

  • วิธีคำนวณคุณภาพการนอนหลับคือนำจำนวนชั่วโมงที่นอนหลับได้จริงหารด้วยจำนวนชั่วโมงที่นอนหลับบนเตียง ถ้าผลออกมาเกิน 85 เปอร์เซ็นต์แสดงว่าการนอนหลับของเรามีคุณภาพที่ดี
  • ในวันหยุดกับวันทำงานนอนต่างกันไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  • หลับทันทีหลังจากเข้านอน อาจจะภายใน 30 นาทีหรือน้อยกว่านั้น
  • มักจะหลับสนิทตลอดทั้งคืน โดยตื่นไม่เกิน 1 ครั้งต่อคืน
  • นอนหลับได้ตามจำนวนชั่วโมงที่แนะนำสำหรับกลุ่มอายุของตัวเอง
  • หากเผลอสะดุ้งตื่นก็หลับต่อได้ภายใน 20 นาที
  • รู้สึกผ่อนคลายเหมือนได้รับการฟื้นฟู และกระปรี้กระเปร่าเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า

สาเหตุของคุณภาพการนอนหลับไม่ดี

มีหลายสิ่งหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ สาเหตุที่เป็นไปได้บางประการ ได้แก่ สุขอนามัยในการนอนหลับที่ไม่ดี ความเครียด หรือภาวะสุขภาพเรื้อรังอื่นๆ หรือความผิดปกติของการนอนหลับ

นิสัยการนอนไม่ดี

นิสัยการนอนที่ไม่ดี เช่น นอนไม่เป็นเวลาหรือบริโภคคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป ในการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล การสูบบุหรี่และการบริโภคกาแฟทุกวันเป็นสองปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี 

ความเครียดและความวิตกกังวล

สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ ไม่ว่าจะจากความเครียดที่เพิ่มขึ้น ภาวะซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล ก็ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีเช่นกัน ปัญหาคือ การอดนอนและการนอนไม่หลับเองส่งผลให้สภาวะทางจิตเหล่านี้แย่ลงจนทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ซ้ำๆ

ภาวะสุขภาพเรื้อรัง

ภาวะสุขภาพเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด กรดไหลย้อน โรคไต มะเร็ง โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง และอาการปวดเรื้อรัง ล้วนส่งผลต่อคุณภาพการนอน และเช่นเดียวกับความเครียดและความวิตกกังวล คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีอาจทำให้อาการเหล่านี้เช่นเดียวกัน

แก้ปัญหาการนอนไร้คุณภาพไปกับ รศ.พญ. นฤชา จิรกาลวสาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาด้านการนอนหลับ แห่งศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หน่วยโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในคอร์ส “The Science of Sleep – ชีวิตดีขึ้นได้ด้วยการนอน” ที่ Cariber

อ้างอิง https://bit.ly/3EuxvBD https://bit.ly/3pnFPio

สูตรความสำเร็จกับ "ที่สุด" ของประเทศ

คอร์สออนไลน์กับผู้บริหาร ผู้นำทางความคิด แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

Verified by MonsterInsights