Site icon Cariber Blog

นอนละเมอ เกิดจากอะไรและมีผลอย่างไร?

สาเหตุของการละเมอยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่คาดว่าอาจจะเกิดจากหลากหลายปัจจัยเช่น การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ, ความเครียด และ การดื่มแอลกอฮอล์

คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยนอนละเมอหรือประสบพบเจอกับคนละเมอ แล้วเกิดสงสัยว่าอาการเหล่านี้มีที่มาอย่างไร และส่งผลอะไรต่อร่างกายบ้าง รวมถึงจะหาวิธีในการรักษาได้อย่างไร

การนอนละเมอเกิดจากอะไร?

สาเหตุของการละเมอยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่คาดว่าอาจจะเกิดจากหลากหลายปัจจัยเช่น การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ, ความเครียดและความวิตกกังวล, การดื่มแอลกอฮอล์, อาการป่วยหรือมีไข้สูง (โดยเฉพาะเด็กเล็ก) และอาการที่ทำให้นอนหลับไม่สนิท

กรรมพันธุ์ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการละเมอ โดยมีการศึกษาแนวโน้มของเด็กที่นอนละเมอ ซึ่งแบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม 

  1. กลุ่มที่ครอบครัวไม่เคยมีประวัติการนอนละเมอ
  2. กลุ่มที่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเคยมีประวัติการนอนละเมอ
  3. กลุ่มที่พ่อและแม่เคยมีประวัติการนอนละเมอทั้งคู่ 

ผลการศึกษาพบว่า จำนวนของเด็กที่นอนละเมอมากที่สุด มาจากกลุ่มที่พ่อและแม่เคยมีประวัติการนอนละเมอทั้งคู่ การศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นว่ากรรมพันธ์ุก็มีส่วนต่อการนอนละเมอ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาที่ให้ฤทธิ์กล่อมประสาท ก็ส่งผลต่อการละเมอเช่นเดียวกัน

นอนละเมอส่งผลอะไรบ้าง?

การนอนละเมอส่งผลต่อร่างกายให้ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่างๆ ในระหว่างที่เราหลับและไม่รู้สึกตัว เช่น การเดิน การเข้าห้องน้ำ พูดคุย ส่งเสียงร้อง และการปัสสาวะไม่เป็นที่ ที่ยกตัวอย่างมาคืออาการละเมอที่ไม่ถึงขั้นรุนแรง

อาการละเมอในขั้นรุนแรง จะสามารถสร้างอันตรายให้กับร่างกายและนำไปสู่อุบัติเหตุได้ เช่น การขับรถ การปีนหน้าต่าง หรือ การเดินออกจากบ้าน

นอกจากนี้แล้วการละเมอยังส่งผลให้ รู้สึกสับสนและงุนงนหลังจากตื่น, ทำให้เกิดภาวะตื่นยาก, รู้สึกหงุดหงิดและมีอารมณ์รุนแรงหลังจากตื่น และการละเมอยังเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ เช่น กรดไหลย้อน, ไมเกรน, ภาวะง่วงเกิน (Narcolepsy), กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome)

จะรักษาและป้องกัน การละเมอได้อย่างไร?

การละเมอเป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและการนอนหลับที่ไม่เพียงพอก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการละเมอทำความเข้าใจการละเมอและเรียนรู้วิธีการนอนอย่างไรให้มีคุณภาพไปกับ  รศ.พญ. นฤชา จิรกาลวสาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาด้านการนอนหลับ แห่งศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หน่วยโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในคอร์ส “The Science of Sleep – ชีวิตดีขึ้นได้ด้วยการนอน

อ้างอิง https://bit.ly/3fTate8 https://bit.ly/3KBnDum

Exit mobile version