ความเชื่อใจเป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกความสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงาน ถ้าสมาชิกในทีมเชื่อใจและไว้วางใจกัน การทำงานก็จะราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของความเชื่อใจ
ในการทำงานความเชื่อใจไม่เพียงแต่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทีมที่มีประสิทธิภาพและช่วยทีมให้บรรลุเป้าหมายได้ ทว่าเมื่อสมาชิกในทีมรู้สึกปลอดภัยซึ่งกันและกัน ทุกคนจะรู้สึกสบายใจที่จะเปิดใจ นอกจากนี้หากปราศจากความเชื่อใจแล้ว การสร้างนวัตกรรม การร่วมมือ ความคิดสร้างสรรค์ และประสิทธิภาพการทำงานก็จะลดน้อยลง
คุณอาจจะถูกหลอกถ้าคุณไว้ใจมากเกินไป แต่คุณจะมีชีวิตอยู่อย่างทรมานถ้าคุณไม่เชื่อใจมากพอ
ประโยคคลาสสิคจาก แฟรงค์ เครน รัฐมนตรีและนักเขียนชาวอเมริกันยังคงใช้ได้เสมอ
แล้วในฐานะผู้นำ เราจะสร้างความเชื่อใจที่จำเป็นต่อการเจริญก้าวหน้าได้อย่างไร? นี่คือเทคนิคการสร้างวัฒนธรรมแห่งความเชื่อใจภายในองค์กรและทีมได้ง่ายๆ
7 เทคนิคสร้างความเชื่อใจ
- เป็นตัวอย่างที่ดี
หากต้องการสร้างความเชื่อใจภายในทีม ต้องเริ่มตั้งแต่ทีม เพื่อนร่วมงาน และเจ้านาย เพราะทุกคนคอยเฝ้าดูและรับคำแนะนำจากเราอยู่เสมอ ยิ่งถ้าเราเป็นผู้นำแล้วก็ต้องแสดงให้ทุกคนเห็นว่าเราไว้วางใจได้ ดังนั้นควรใช้โอกาสเพื่อแสดงให้พวกเขาเห็น ทั้งการตรงต่อเวลา หรือการรักษาคำมั่นสัญญาล้วนเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะสร้างความเชื่อใจให้เกิดขึ้น
- หมั่นกระชับความสัมพันธ์
หาโอกาสให้ทีมได้พบปะกันจะช่วยให้สมาชิกสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด ทีมควรพบกันแบบเห็นหน้าอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อเดือน อาจจะลองจัดเซสชั่นเพื่อพบปะพูดคุยกัน แบ่งปันเรื่องราวส่วนตัว ถามคนอื่นเกี่ยวกับงานอดิเรกหรือ หรือจะแชร์เรื่องราวที่สนใจและมีความเชี่ยวชาญด้วยก็ได้
- สื่อสารอย่างจริงใจ
การสื่อสารที่จริงใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อใจ ผู้นำหรือหัวหน้าสร้างความเชื่อใจและความรับผิดชอบได้ด้วยการตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาและครบถ้วน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและโปร่งใสกับการทำงาน พยายามสื่อสารข้อมูลที่สำคัญกับคนอื่นในทีม นอกจากนี้ต้องสนับสนุนให้ทุกคนในทีมพูดคุยกันอย่างจริงใจด้วย
- ชื่นชมความสำเร็จ
หนึ่งในตัวชี้วัดที่มีความน่าเชื่อถือที่ดีที่สุดสำหรับสมาชิกในทีมคนอื่นๆ คือ ความสำเร็จที่ผ่านมา ผู้นำควรสนับสนุนให้สมาชิกในทีมแบ่งปันชัยชนะหรือความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ผ่านทางอีเมล ระหว่างการประชุม หรือหน้าโซเชียลมีเดียก็ได้ เพื่อเปิดพื้นที่ของความมั่นใจและการพัฒนาตัวเองที่ดีขึ้น
- เข้าใจความผิดพลาด
แน่นอนว่าเมื่อผู้คนทำงานร่วมกัน ความผิดพลาดและความผิดหวังก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นงานของผู้นำคือการกระตุ้นให้ทุกคนในกลุ่มเรียนรู้ความผิดพลาดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น และก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน และปรับปรุงความเชื่อมั่นให้แน่ใจว่าข้อผิดพลาดต่างๆ จะไม่เกิดขึ้น
- เปิดกว้างและโปร่งใส
ผู้นำต้องเปิดกว้างกับโอกาส เน้นย้ำถึงความซื่อสัตย์และโปร่งใสในทีมและองค์กร รวมถึงสร้างวัฒนธรรมการพูดคุยเพื่อให้สมาชิกในทีมทุกคนสามารถพูดความจริงทั้งต่อหน้าและลับหลัง และแบ่งปันความท้าทายและความสำเร็จอยู่เสมอ
- ยอมรับความไม่รู้
ทุกคนไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง ดังนั้นอย่ากลัวถ้าจะต้องถามด้วยความไม่รู้จากคนที่รู้ข้อมูลมากกว่า แม้ว่าเราจะเป็นหัวหน้าก็ไม่ควรอายที่จะกล้าบอกว่าตัวเองไม่รู้อะไร จะดีมากๆ ถ้าผู้นำหมั่นปรึกษาเพื่อนร่วมงานและผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ เพื่อขอข้อมูล และสนับสนุนให้สมาชิกในทีมทำเช่นเดียวกัน
เติบโตจากรากฐานสู่ยอดพีระมิดด้วยความเชื่อใจ
เรียนรู้อีกหลายแง่มุม เจาะลึกวิธีเติบโตอย่างก้าวกระโดดในที่ทำงาน พัฒนา Growth Mindset ให้กับทีมและองค์กร ในคอร์ส “Employee Survival Guide อยู่ให้เป็น เอาตัวให้รอด จาก ‘ศูนย์’ ถึง ‘CEO’ “ กับผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจความสัมพันธ์ของพีระมิดองค์กร จากประสบการณ์มากกว่า 20 ปี กับ คุณฐากร ปิยะพันธ์ อดีต CEO เครือไทย โฮลดิ้งส์ (กลุ่มอาคเนย์) และอดีตประธานกรรมการแห่งกรุงศรี คอนซูมเมอร์
อ้างอิง https://bit.ly/3sFbbmk https://bit.ly/3pxFsle
Personal Branding คืออะไร? สื่อสารอย่างไร? ในวันที่ตัวตนสำคัญกว่าตัวแบรนด์

FacebookFacebookXXLINELine‘แบรนด์’ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจ แต่หากเราพูดถึงการสร้างแบรนด์ในปัจจุบัน Personal Branding จะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆแต่เมื่อพูดถึง Personal Branding…