‘มุมกล้อง’ สิ่งสำคัญในการเล่าเรื่องให้เข้าถึงผู้ชม

ช่วงนี้คงไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหนที่กำลังเป็นกระแสไปมากกว่า “ร่างทรง”

แต่แค่ตัวอย่างสั้นๆ ที่ออกมาเราก็ได้เห็นมุมกล้องที่หลากหลายทั้งมุมสูง มุมต่ำ การซูมเข้า ซูมออก แล้วเทคนิคการถ่ายที่ใช้ในภาพยนตร์เหล่านี้มีความแตกต่างหรือนัยยะแฝงอย่างไร? 

ระยะของภาพที่แตกต่าง

โดยปกติแล้วระยะของภาพจะแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ Close-up, Medium Shot และ Long Shot

Close up

โคลสอัพ (Close-up) คือ การจับภาพคนหรือสิ่งของในระยะใกล้ ส่วนใหญ่การถ่ายแบบโคลสอัพจะใช้เวลาต้องการจับภาพสีหน้าของตัวละครเพื่อให้คนดูเห็นว่าตัวละครกำลังแสดงความรู้สึกอะไรอยู่ ส่วนการจับภาพสิ่งของระยะใกล้จะทำเพื่อส่งสัญญาณให้คนดูรู้ว่าสิ่งนั้นอาจเป็นส่วนสำคัญของพล็อตเรื่องที่อาจปรากฏขึ้นอีก

ภาพ: https://www.youtube.com/watch?v=JySzXSlwNNs

Medium Shot

ส่วนใหญ่การจับภาพระยะกลาง (Medium Shot) หรือประมาณครึ่งตัว จะใช้เวลาตัวละครพูดคุยโต้ตอบกัน การจับภาพระยะกลางจะทำให้คนดูมองเห็นลักษณะท่าทางของตัวละครเวลาพูดและสภาพแวดล้อมรอบข้างของตัวละคร

ภาพ: https://www.youtube.com/watch?v=JySzXSlwNNs

Long Shot

การจับภาพระยะไกล (Long Shot) มักจะเป็นฉากเริ่มเรื่องเพราะเป็นการเน้นไปที่สภาพแวดล้อมรอบข้างมากกว่าตัวละครเพื่อกำหนดบรรยากาศโดยรวมของเรื่อง นอกจากนี้การใช้ Long Shot บ่อยๆ ยังทำให้เกิด “ระยะห่าง” ระหว่างคนดูและตัวหนังอีกด้วย เป็นเทคนิคที่ทำให้คนดูรู้สึกว่าตัวเองเป็นได้แค่คนที่มองห่างๆ มากกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง 

ภาพ: https://www.youtube.com/watch?v=JySzXSlwNNs

มุมกล้องที่แตกต่าง

มุมกล้องที่แตกต่างกันไม่ได้ใช้เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังสามารถทำหน้าที่เป็นตัวเล่าเรื่องหรือกำหนดอารมณ์ของแต่ละฉากได้ด้วย

High Angle

การจับภาพจากมุมสูง (High-angle Shot) คือ เทคนิคที่จับภาพจากด้านบนโดยให้กล้องหันลงมา การจับภาพแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้คนหรือสิ่งของที่เป็นจุดโฟกัสดูอ่อนแอ ไร้อำนาจต่อรอง หรือเพื่อสื่อถึงอันตราย อารมณ์หดหู่และตกใจกลัว นอกจากนี้การจับภาพจากมุมสูงยังทำเพื่อให้เห็นภาพรวมของสถานที่ได้ด้วยเช่นกัน

Low Angle

การจับภาพจากมุมต่ำ (Low-angle Shot) คือ เทคนิคที่จับภาพจากระดับต่ำกว่าสายตาโดยให้กล้องช้อนขึ้น ทำให้คนหรือสิ่งของที่เป็นจุดโฟกัสดูแข็งแกร่งและมีอำนาจ หรือทำให้ดูมีขนาดใหญ่กว่าความเป็นจริง

Over the Shoulder

ส่วนใหญ่การจับภาพแบบข้ามไหล่ (Over the Shoulder Shot) จะใช้ในฉากที่ตัวละครสองคนขึ้นไปกำลังคุยกันโดยคนดูจะเห็นด้านหลังของตัวละครตัวหนึ่งขณะที่ตัวละครอีกตัวกำลังอธิบายอะไรบางอย่าง การจับภาพแบบนี้สามารถสื่อให้คนดูเห็นว่าตัวละครที่หันหน้าเข้าหาคนดูมักจะรับรู้หรือเห็นอะไรบางอย่างก่อนตัวละครที่หันหลังให้คนดู ตัวอย่างเช่น สายตาของตัวละครที่หันหน้าอาจจะมองทะลุตัวละครที่หันหลังอยู่เพื่อมองอุบัติเหตุที่กำลังเกิดขึ้นด้านหลัง 

Birds Eye

มุมสายตานก (Bird’s-eye View) คือ การจับภาพโดยที่กล้องลอยอยู่ด้านบนโดยทำมุมระนาบกับพื้นเหมือนนกที่มองลงมาขณะบิน มุมสายตานกมักจะใช้เพื่อกำหนดสถานที่ว่าเรื่องราวเกิดขึ้นที่ไหน จะใช้บ่อยเมื่อสถานที่เป็นส่วนสำคัญต่อการดำเนินเรื่อง 

Dutch Angle

มุมเอียง (Dutch Angle) มักจะใช้เพื่อสร้างความกดดันหรือตึงเครียด การจับภาพในมุมนี้ยังทำให้คนดูรู้สึกวิงเวียน กระอักกระอ่วน ไม่สบายใจหรือให้ความรู้สึกมึนเมาได้อีกด้วย

เจาะลึกการทำภาพยนตร์

เข้าใจเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์อีกหลายรูปแบบและเจาะลึกแนวคิดการเล่าเรื่องไปกับคุณ โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับภาพยนตร์ GDH พี่มาก..พระโขนง และเรื่องล่าสุด ร่างทรง ในคอร์ส THE CRAFT OF FILMMAKING – ถอดความคิดเบื้องหลังหนังพันล้าน 

อ้างอิง https://bit.ly/30t9pZN

สูตรความสำเร็จกับ "ที่สุด" ของประเทศ

คอร์สออนไลน์กับผู้บริหาร ผู้นำทางความคิด แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน