จารุสตรี สุวรรณวงศ์: หญิงสาวผู้หลงรักอีคอมเมิร์ซพร้อมเป้าผลักดันธุรกิจไทยให้ก้าวไปสู่ระดับสากล

หากเอ่ยชื่อ Lazada, Shopee และ Amazon ทุกคนก็ต้องรู้จักเป็นอย่างดีในฐานะแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ระดับโลก และถ้าเราจะบอกว่าทั้ง 3 บริษัทนี้ล้วนเป็นบริษัทที่ผู้หญิงคนนี้ทำงานด้วยมาแล้ว

วันนี้ #CareerTalk จะมาพูดคุยกับ ‘พี่แพง’ จารุสตรี สุวรรณวงศ์ Partner and Managing Director แห่ง N-Squared eCommerce หญิงสาวผู้หลงรักธุรกิจอีคอมเมิร์ซเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานที่บริษัทยักษ์ใหญ่ตลอดระยะเวลาหลายปีและเป้าหมายที่อยากผลักดันธุรกิจไทยให้ก้าวไปสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซระดับสากล

รู้จักกับพี่แพง จารุสตรี

พี่แพงจบปริญญาตรี จาก University of New South Wales ที่ประเทศออสเตรเลีย ก่อนจะกลับมาเรียนต่อ Business Course ที่ Sasin Business  School of Management

เมื่อกลับมาเธอมีโอกาสได้ทำงานระยะสั้นๆ ในสายโรงแรม กับเพื่อนที่เรียนมาด้วยกัน จนวันหนึ่งรู้จักกับ Agoda และมีโอกาสเริ่มทำงานที่แรกกับ Agoda  ที่ตอนนั้น Agoda ยังมีออฟฟิศแค่ในกรุงเทพ ทำให้มีโอกาสทำงานกับเพื่อนจากหลายประเทศมากมาย  ที่นี่เองที่ทำให้พี่แพงได้รู้จักคำว่า Yield Management ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดในธุรกิจโรงแรมเพราะต้องบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอย่างจำกัดอยู่มาทำยังไงให้เกิดผลกำไรสูงสุด พี่แพงเล่าย้อนให้ฟังว่าที่ Agoda เทรนคนดีมาก และสอนหลักวิธีการคิดของอีคอมเมิร์ซ จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เธอสนใจธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มตัว

รู้ตัวอีกทีก็หลงรักอีคอมเมิร์ซไปแล้ว

พอได้ทำงานกับบริษัทอีคอมเมิร์ซอย่าง Agoda พี่แพงก็รู้สึกได้เลยว่าเป็นที่ที่สามารถลองผิดลองถูกได้ และเห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน อีกทั้งตัวธุรกิจเองยังตอบโจทย์ของทั้งผู้ประกอบการที่เป็นโรงแรมและลูกค้าด้วย ทำให้เธอรู้สึกว่าธุรกิจประเภทนี้สามารถทำอะไรใหม่ๆ กับผู้คนได้ และเป็นธุรกิจยั่งยืนเพราะช่วยจัดการปัญหาของลูกค้าได้จริงๆ

ไม่รู้ว่ารักอีคอมเมิร์ชตอนไหน แต่รู้สึกว่ามันตอบโจทย์เรามาก เพราะธุรกิจนี้สร้างมาเพื่อให้คนทำอะไรต่างๆ สะดวกขึ้น จัดการปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยรูปแบบการค้าดั้งเดิมอีกต่อไป

เก็บประสบการณ์ที่มากขึ้น

หากเอ่ยชื่อ Lazada, Shopee และ Amazon ทุกคนก็ต้องรู้จักเป็นอย่างดีในฐานะแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ระดับโลก แต่ที่เรากำลังจะพูดถึงทั้ง 3 บริษัทนี้ เพราะว่าทั้งหมดเป็นอดีตที่บริษัทที่พี่แพงทำงานด้วยมาแล้ว

หลังจากทำที่ Agoda ได้สักพักพี่แพงก็อยากย้ายข้ามฟากจากธุรกิจที่เกี่ยวกับโรงแรมเพียงอย่างเดียวไปทำอะไรที่ได้เห็นภาพรวมมากขึ้น รวมถึงมองหาแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อขายของได้เยอะขึ้น จนมีคนแนะนำ Lazada ที่กำลังจะทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจรีเทลเป็นมาร์เก็ตเพลส ซึ่งที่นี่เองพี่แพงได้ทำงานใกล้ชิดกับ CEO และ CCO ได้รับผิดชอบตั้งแต่ดูแลแอคเคาท์ระดับโกลบอล จนถึงดูแลโปรเจ็คพิเศษต่างๆ สร้าง Business Process ต่างๆ เพื่อให้ E-Marketplace ดำเนินงานดำเนินงานและสามารถสเกลได้

พี่แพงเล่าให้ฟังว่าพอทำงานกับบริษัทอีคอมเมิร์ซก็จะรู้สึกว่าการอยู่เพียง 1 ปี เป็นเวลายาวนานมาก เพราะทำงานแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง ขณะเดียวกันคนแนะนำคนเดิมก็อยากให้เธอลองไปสัมภาษณ์กับ Shopee ที่ตอนนั้นยังไม่มีเว็บไซต์ และคนก็รู้จักเพียงแอปพลิเคชันใหม่ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Garena เท่านั้น พอเธอได้สัมภาษณ์กับบุคคลท่านหนึ่งซึ่งดำรงต่ำแหน่งเป็น COO ณ ตอนนั้น ในการประชุมครั้งนั้นทำให้เธอเข้าใจตลาดอีคอมเมิร์ซในมุมมองใหม่ที่แตกต่างไป รวมถึงเห็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและชัดเจน พี่แพงบอกว่าในวันนั้นรู้เลยว่าต้องทำงานกับคนๆ นี้

ใครก็ตามที่คิดอะไรโดยไม่มีความกลัว พี่คิดว่านั่นคือ Innovation

เธอกล่าว

พอมีโอกาสเข้าไปทำงานที่ Shopee ตอนนั้น App ยังไม่ขึ้นอะ งานหลักก็ช่วย และคอยจัดสินค้าและผู้ขายเข้าสู่แพลตฟอร์ม รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มด้วย

ก้าวสู่ Amazon

แม้ว่าจะยังสนุกกับงานที่ทำแต่เมื่อมีโอกาสที่ดีเธอก็ไม่อยากเสียโอกาสนั้นไป และประโยคจากการสัมภาษณ์ที่ว่า “ถ้าคุณสามารถเอาความรู้ที่มีอยู่ มาทำให้ SME ขายได้ในระดับโกลบอลจะดีกว่าไหม?” ด้วยประโยคนี้เธอจึงตัดสินใจไปทำงานกับ Amazon ในตำแหน่ง Strategic Account Manager ที่สิงคโปร์ ดูแล Seller ไทย เพื่อเอาของไปขายบนเว็บไซต์ Amazon 

พี่แพงบอกว่าแม้จะเคยอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับเจฟฟ์ เบโซสและ Amazon อยู่บ้างเพราะต้องคลุกคลีอยู่กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แต่เธอไม่คาดคิดว่าในวันหนึ่งจะได้ทำงานที่ Amazon จริงๆ และเมื่อเราถามว่าเสียดายไหมที่ต้องออกจากทั้ง Shopee และ Lazada เธอให้คำตอบเราด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจนว่า “ไม่เลย” และหากย้อนเวลากลับไปได้เธอก็จะทำแบบเดิมเพราะรู้สึกว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นทำให้เธอมีความสุขกับการทำงานอย่างที่เป็นในทุกวันนี้

ประสบการณ์ล้ำค่าที่ได้มาจาก Amazon

เธอเล่าย้อนให้ฟังว่าการทำงานกับ Amazon ในช่วงแรกคือต้องช่วยให้ตลาดไทยไปสู่ระดับสากลได้ และทำงานเพื่อให้ได้ออฟฟิศที่ประเทศไทย จนในที่สุดประเทศไทยก็ได้ออฟฟิศเป็นประเทศแรกที่อยู่นอกสิงคโปร์ หลังจากนั้นเธอจึงย้ายกลับมาประจำที่ไทยในตำแหน่ง Head of Business Devolopmont และ Head of Amazon Global Selling ประจำประเทศไทยซึ่งมีหน้าที่ยกระดับให้ Ecosystem ของไทยแข็งแรงขึ้นในโลกธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ด้วยตำแหน่งที่เติบโตรวดเร็วพี่แพงบอกว่าแอบลังเลอยู่พอสมควร เพราะคิดว่าตัวเองอาจจะเด็กเกินไป แต่คำแนะนำของคุณพ่อที่อยากให้ลองถามตัวเองว่าจะเสียดายไหมถ้าไม่เลือก จึงทำให้เธอตัดสินใจได้

ตลอด 6 ปีที่พี่แพงทำงานกับ Amazon เธอได้โอกาสเรียนรู้จากเจ้านายที่เก่งมากทุกครั้ง และการทำงานกับองค์กรที่มีวัฒนธรรมดี และเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ทำให้เธอคิดเสมอว่าสักวันจะต้องเป็นผู้ให้บ้าง พี่แพงจึงขีดเส้นใต้ชัดเจนว่าอนาคตจะต้องได้ทำงานกับสตาร์ทอัพไทยที่มีศักยภาพและความสามารถไประดับโกลบอล และเธอต้องเป็นหนึ่งในคนที่ขับเคลื่อนองค์กรนั้นได้

สู่อ้อมกอดของ N-Squared

แน่นอนว่าการหาโอกาสครั้งใหม่หลังจากทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย 

พี่แพงเองก็ได้รับคำแนะนำว่าให้ออกจากงานแล้วทำตัวให้ว่าง 1 เดือน แล้วจึงค่อยมองหาโอกาสใหม่ๆ ซึ่งเธอบอกว่าถ้าไม่ทำแบบนั้น เราจะเอาทุกอย่างไปเปรียบเทียบกับ Amazon แล้วก็จะรู้สึกว่าไม่มีที่ไหนชนะ Amazon ได้เลย จนในที่สุดเธอก็ได้คำตอบว่าอยากทำบริษัทไทยที่ต้องการทรานส์ฟอร์เมชัน

พี่เป็นคนชัดเจนมากกว่าพี่อยากไปถึงจุดไหนเมื่อไหร่ และจะไปอยู่ตรงไหนเพื่อให้ได้จุดนั้น สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนมาตลอด คือ ถ้าคนอื่นคิดว่าเราเก่ง เราสมควรไปอยู่ในที่ที่มันอิมแพคที่สุด ไม่ใช่แค่ตัวเรา แต่ยังรวมถึงคนรอบข้าง สังคม หรือประเทศด้วย เลยคิดว่าสตาร์ทอัพไทยน่าจะตอบโจทย์คุณค่านี้ได้

เธอกล่าว

พี่แพงเล่าว่าเคยทำงานกับพี่หนึ่ง นัฐพล CEO ของ N-Squared อยู่แล้วที่ Amazon และเมื่อลองพิจารณาจากองค์กรแล้วก็รู้สึกว่าช่องว่างไม่ห่างกับพนักงานมากที่จะเข้าไปผลักดันธุรกิจและวัฒนธรรมใหม่ๆ ในองค์กรได้ เมื่อได้เห็น N-Squared ก็รู้สึกว่ามีทุกอย่างที่ต้องการ ตั้งแต่วัฒนธรรมการทำงานของพนักงานในบริษัท วิสัยทัศน์ของซีอีโอ และขนาดขององค์กร นอกจากนี้ยังเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วย

เธอกล่าวว่าถือเป็นความโชคดีที่มีองค์กรอย่าง N-Squared อยู่ในประเทศไทย ทำให้เธอได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง

เติบโตแบบ N-Squared

เธออธิบายให้ฟังถึงรูปแบบธุรกิจของ N-Squared ว่ามี 2 ธุรกิจใหญ่ๆ คือ Service Provider และ House Brand จากจุดเริ่มต้นของธุรกิจ Home Huk (โฮมฮัก) ที่ทำเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน โดยมีโมเดลหลักในการทำธุรกิจคือ Digital Brand Factory ซึ่งหน้าที่ของพี่แพงคือการบริหารธุรกิจฝั่ง  House Brand ทั้งหมด

หลายคนคงทราบดีว่าการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงและเป็นสมรภูมิที่ดุเดือด แต่จากผลงานและการเติบโตของบริษัททั้งหมดพี่แพงอยากจะยกให้กับทีมงานทุกคน

เพราะการเป็นที่หนึ่งในแพลตฟอร์มมันไม่ได้ง่ายหรือยากมากถ้ามีตัวชี้วัดชัดเจน แต่การรักษาที่ 1 ได้ เป็นเรื่องยากมาก

เธอกล่าวเสริม

เธอบอกว่าเป้าหมายต่อไปของทุก Brands ภายใต้ธุรกิจนี้คือการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้ามากขึ้น และการบริการได้ตามที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงสินค้าที่จะนำเข้าต้องแตกต่างและตอบโจทย์ได้ ดังนั้นแพชชันที่ทีมมีต่อแบรนด์ และลูกค้า เป็นสิ่งที่เธออยากให้ทีมและองค์กรรักษาไว้ต่อไป ซึ่งเธอเชื่อว่าทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะทำให้ธุรกิจ House Brands เป็นหมื่นล้านได้ในอนาคต ซึ่งจากจุดนี้ก็ไม่ได้ไกลมากกก เราทำได้แน่นอน

สไตล์การทำงานและทริคการทำงาน

สำหรับหัวหน้าหรือผู้จัดการที่มี Young Talent อยู่ในทีม สิ่งแรกที่พี่แพงแนะนำคือการใช้เวลากับการเลือกคนและสกรีนคน และสิ่งที่พี่แพงเรียนรู้จาก Amazon คือ การสัมภาษณ์สำคัญที่สุด และการคัดคนที่ถูกต้องก็สำคัญมาก เมื่อเลือกคนถูกแล้ว การทำให้เขาได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงความสามารถ สำคัญมากเช่นกัน เพราะถ้ามีคนเก่ง แต่ไม่สามารถเก็บหรือดึงศักยภาพได้ก็คงไม่ดี ดังนั้นผู้นำทีมหรือองค์กรควรสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้กล้าคิด และกล้าผิดได้ นอกจากนี้พี่แพงบอกว่าเธอให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กรมาก ต้องชัดเจนและเข้าใจตรงกัน 

พี่แพงเป็นคนที่รู้ตัวเสมอว่า อีก 3 หรือ 5 ปีข้างหน้าอยากได้หรืออยากทำอะไร เธอจึงแนำนำว่าหน้าที่ของหัวหน้างานที่ดีจึงเป็นเรื่องของการทำให้พนักงานรับรู้ว่าการพัฒนาตำแหน่งงานเป็นหน้าที่ของพวกเขา และต้องเอาวิธีคิดไปให้น้องๆ ในทีมให้ได้ เพราะ “เจ้านายไม่ใช่ผู้บัญชาการ แต่เป็นคนทำงานคนหนึ่งที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต่างกันเท่านั้น” เธอสรุป

เป้าหมายและบทเรียนส่งท้าย

“เราอยากเป็นแบรนด์ที่รัก แม้ความรักนั้นอาจจะวัดยาก แต่เราจะพยายาม เพราะเรารู้ว่าความรักมั่นยั่งยืน” คำตอบชัดเจนที่กลั่นออกมาจากน้ำเสียงของพี่แพง เธอเสริมว่าถ้าระบุในเชิงตัวเลขคงอยากให้ธุรกิจฝั่ง House Brands  เป็นบริษัทหมื่นล้าน ซึ่ง ณ ปัจจุบันเป็นช่วงที่กำลังหาเงินทุนสนับสนุน

โลกใหญ่มากและกว้างมาก มันหมุนเร็วมาก แต่อย่าไปเอามาตรฐานหรือบรรทัดฐานที่สังคมตั้งไว้มาบอกว่าต้องทำหรือไม่ควรทำอะไร อย่าเอาความกลัวที่คนอื่นสร้างไว้  มาบอกว่าเราทำอะไรได้หรือไม่ได้ สิ่งสำคัญก็แค่ลงมือทำมัน แล้วถ้ามันไม่ใช่ก็ไม่เป็นไร ดูที่ Learning ของมัน ตราบใดที่เรารู้ว่าเราทำมันไปเพื่ออะไร พี่ว่าโอเคนะ ขอแค่หาเป้าหมายให้เจอว่าอยากทำอะไร แล้ว Work backward จากเป้าหมายนั้น

เธอกล่าวทิ้งท้าย

สูตรความสำเร็จกับ "ที่สุด" ของประเทศ

คอร์สออนไลน์กับผู้บริหาร ผู้นำทางความคิด แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

Verified by MonsterInsights