ทุกองค์กรล้วนมีโครงสร้าง ตั้งแต่สตาร์ทอัพขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ การตัดสินใจของผู้นำองค์กรจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อวัฒนธรรมการทำงานโดยรวมในรูปแบบที่แตกต่างกัน แล้วโครงสร้างแต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร ?
โครงสร้างองค์กรแบบ Pyramid
โครงสร้างองค์กรแบบพีระมิดทำงานตามรูปร่างที่ตั้งชื่อไว้ หรือเรียกอีกอย่างว่าโครงสร้างองค์กรแบบลำดับชั้น โดยมีผู้นำหนึ่งคนอยู่ด้านบน ทีมผู้บริหารขนาดเล็กอยู่ด้านล่าง และระดับของผู้จัดการจนถึงพนักงานเป็นฐานกว้าง ซึ่งหน้าที่ของผู้จัดการแต่ละระดับจะคอยดูแลและจัดการระดับด้านล่าง ซึ่งกระจายความรับผิดชอบอย่างเท่าเทียมกัน โครงสร้างแบบพีระมิดได้รับการออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานแต่ละคนจะได้รับบริการที่ดีขึ้นจากผู้จัดการที่ดูแลทีมขนาดเล็ก
โครงสร้างองค์กรแบบพีระมิดถือว่าข้อมูลจะถูกส่งต่อลงมา ดังนั้นการจ่ายงานก็จะเริ่มตั้งแต่ CEO พบกับทีมผู้นำกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ระดับถัดลงมา ก่อนที่ผู้นำกลุ่มนี้จะพบกับผู้นำระดับเล็กๆ ที่อยู่ใต้การดูแลและจากนั้นจะถูกแชร์กับระดับถัดไป ซึ่งปัญหาของของโครงสร้างรูปแบบนี้อาจเกิดจากการสื่อสารที่ต้องมาจากผู้นำทีมเพียงคนเดียวอาจทำงานพังได้หากลืมบอกหรือกระจายงานต่อ รวมถึงพนักงานฐานล่างยังไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้นำระดับบนสุดด้วย
โครงสร้างองค์กรแบบ Flat
คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีในชื่อโครงสร้างองค์กรแนวราบ และเป็นโครงสร้างรูปแบบตรงข้ามกับแบบพีระมิด โดยรูปแบบนี้เกิดจากธุรกิจต่างๆ พยายามแสวงหาวัฒนธรรมการทำงานที่สบายๆ และเป็นกันเอง ทำให้โครงสร้างแนวราบจึงกลายเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสตาร์ทอัพขนาดเล็ก เพราะช่วยให้การทำงานรวดเร็วและส่งเสริมสภาพแวดล้อมของสำนักงานให้พนักงานทุกคนรู้สึกใกล้ชิดโดยตรงกับทีมผู้นำ และรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นเจ้าของร่วมกัน
พอเป็นโครงสร้างองค์กรที่แบนราบ ผู้บริหารระดับกลางที่เห็นในองค์กรแบบพีระมิดก็จะถูกตัดออกไป แล้วให้ผู้บริหารระดับสูงจะดูแลพนักงานระดับฐานล่างโดยตรง ในธุรกิจขนาดเล็ก อาจมีผู้จัดการเพียงคนเดียวที่ดูแลพนักงานเพียงไม่กี่คน และเมื่อองค์กรเติบโตขึ้น อาจมีผู้นำหลายคนเข้ามาช่วยในการดูแลทีมพนักงานขนาดใหญ่ควบคู่ไปกับ CEO หรือประธานขององค์กร ซึ่งเหมาะกับบริษัทที่มีจำนวนพนักงานไม่มาก
โครงสร้างองค์กรแบบ Flatarchy
แค่ดูชื่อก็พอจะเดาได้ว่าเป็นรูปแบบผสมจาก 2 แนวทางทั้งพีระมิดและแนวราบ เนื่องจากตัวเลือกทั้งสองมีข้อเสีย หลายๆ ธุรกิจจึงเลือกรวมเอาแนวทางทั้งสองมารวมกัน ซึ่งในการทำงานของรูปแบบ Flatarchy ทีมงานต้องแยกจากกัน โดยมีหน้าที่แยกตามงานที่ทำ รวมถึงองค์กรที่มีโปรเจ็กต์พิเศษ เช่น สามารถแต่งตั้งหัวหน้าทีมเพื่อเป็นผู้นำโปรเจ็กต์นั้น จากนั้นจึงยุบทีมนั้นทันทีที่โปรเจ็กต์สิ้นสุด ทำให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากเมื่อบริษัทใหญ่ๆ รู้สึกว่าตัวเองเทอะทะเกินไป
เรียนรู้ประสบการณ์ของผู้นำองค์กรขนาดใหญ่
ในคอร์ส Employee Survival Guide อยู่ให้เป็น เอาตัวให้รอด จากศูนย์ถึง CEO กับคุณฐากร ปิยะพันธ์ ผู้เข้าใจความสัมพันธ์ของพีระมิดองค์กรได้เป็นอย่างดีจากประสบการณ์มากกว่า 20 ปีที่ไต่เต้าจากพนักงานชั้นรากฐานสู่ยอดพีระมิด
อ้างอิง https://bit.ly/3skqm4I
Personal Branding คืออะไร? สื่อสารอย่างไร? ในวันที่ตัวตนสำคัญกว่าตัวแบรนด์

FacebookFacebookXXLINELine‘แบรนด์’ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจ แต่หากเราพูดถึงการสร้างแบรนด์ในปัจจุบัน Personal Branding จะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆแต่เมื่อพูดถึง Personal Branding…